SEARCH

ข่าวประชาสัมพันธ์

กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 13 หลักสูตรใหม่ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม เดือนตุลาคม ปี 2567

2 ตุลาคม 2567 99

  กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 13 หลักสูตรใหม่ ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม ประจำเดือนตุลาคม 2567 พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกอบการยกเว้นภาษีได้มากถึง 250% เตรียมพร้อมส่งบุคลากรเข้ามาพัฒนาทักษะกันได้เลย!.ในเดือนตุลาคมนี้ มีหลักสูตรที่น่าสนใจในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Intelligent Electronics) และอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry).หลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรจากหน่วยฝึกอบรมภาคเอกชนที่น่าสนใจหลากหลายแห่ง ที่ได้รับการรับรอง ตามมาตรการ Thailand Plus Package มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน STEM ที่สอดคล้องกับความต้องการทักษะบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Future Skills Set) ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมในหลักสูตร ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ถึง 250%.ตัวอย่างหลักสูตรใหม่ที่น่าสนใจ เช่น.>> การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์>> Basic Electrical for non-electrical engineer (พื้นฐานทฤษฎีไฟฟ้า สำหรับบุคคลทั่วไป)>> สร้างวีทูบเบอร์ตัวละครเคลื่อนไหวของคุณเองด้วย Live2D>> Be the Skilled Software Tester the Series: AI as a Copilot for Tester In Action Workshop.✨ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและติดตามข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองเพิ่มเติมได้ที่ www.stemplus.or.th.#สอวช #NXPO #ThailandPlusPackage #FutureSkill

สัมมนาออนไลน์ (ทาง Zoom) ประชาสัมพันธ์โครงการ SGInnovate Summation โดย สอวช. และสควทท. วันที่ 25 ก.ย. 2567

10 กันยายน 2567 1,984

  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควทท.) ร่วมกันจัดสัมมนาออนไลน์ทาง Zoom  เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการรับสมัครนักศึกษาฝึกงาน จาก SGInnovate แพลตฟอร์มสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพประเทศสิงคโปร์ โครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับชั้นปริญญา ตรี-โท-เอก จากทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีโอกาสเก็บประสบการณ์ในการทำงานในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากบริษัท Deet Tech Startup ครอบคลุมทุกด้านสมรรถนะของนักศึกษา STEM ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่กว่า 70 หัวข้อ อาทิ Artificial Intelligence Biotech และ Foodtech Cleantech Robotics Nanotech Quantum Computing โครงการนี้ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษในการยื่นสมัคร  ที่สำคัญรัฐบาลสิงคโปร์ยังสนับสนุนค่าใช้จ่ายทุกด้าน  นักศึกษาที่สนใจสามารถยื่นสมัครโครงการนี้ได้เลยรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการนี้นักศึกษาผู้สนใจสามารถเข้ามารับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สัมมนาฟรีออนไลน์ (ทาง Zoom)  ในวันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 11.30 – 12.30 น. จากลิงค์ที่แสดงด้านล่าง https://www.nxpo.or.th/sginnovate_webinar_zoom_20241025

กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 31 หลักสูตรใหม่ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม เดือนกันยายน ปี 2567

3 กันยายน 2567 217

      กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 31 หลักสูตรใหม่ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม ประจำเดือนกันยายน 2567 พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกอบการยกเว้นภาษีได้มากถึง 250% เตรียมพร้อมส่งบุคลากรเข้ามาพัฒนาทักษะกันได้เลย! . ในเดือนกันยายนนี้ มีหลักสูตรที่น่าสนใจในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Intelligent Electronics)และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย . หลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรจากหน่วยฝึกอบรมภาคเอกชนที่น่าสนใจหลากหลายแห่ง ที่ได้รับการรับรอง ตามมาตรการ Thailand Plus Package มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน STEM ที่สอดคล้องกับความต้องการทักษะบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Future Skills Set) ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมในหลักสูตร ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ถึง 250% . ตัวอย่างหลักสูตรใหม่ที่น่าสนใจ เช่น . -  ก้าวแรกสู่เส้นทางสายงาน System Analyst - เทคนิคการกัวซา หน้าใสตามตำราแพทย์แผนจีน - Wave Soldering Technology - เทคนิคการยกร่างคำขอรับสิทธิบัตรอย่างมืออาชีพ . ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและติดตามข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองเพิ่มเติมได้ที่ www.stemplus.or.th . #สอวช #NXPO #ThailandPlusPackage #FutureSkill    

กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 87 หลักสูตรใหม่ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม เดือนสิงหาคม ปี 2567

16 สิงหาคม 2567 230

        กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 87 หลักสูตรใหม่ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม ประจำเดือนสิงหาคม 2567 พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกอบการยกเว้นภาษีได้มากถึง 250% เตรียมพร้อมส่งบุคลากรเข้ามาพัฒนาทักษะกันได้เลย!.ในเดือนสิงหาคมนี้ มีหลักสูตรที่น่าสนใจในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (High Wealth and Medical Tourism) อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)และอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics).หลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรจากหน่วยฝึกอบรมภาคเอกชนที่น่าสนใจหลากหลายแห่ง ที่ได้รับการรับรอง ตามมาตรการ Thailand Plus Package มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน STEM ที่สอดคล้องกับความต้องการทักษะบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Future Skills Set) ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมในหลักสูตร ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ถึง 250%.ตัวอย่างหลักสูตรใหม่ที่น่าสนใจ เช่น.- การใช้น้ำมันหอมระเหยเบื้องต้นเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ- หลักสูตรการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเชิงลึก- Environmental Impact Management- การบริหารและการจัดการโครงการก่อสร้าง.ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและติดตามข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองเพิ่มเติมได้ที่ www.stemplus.or.th.#สอวช #NXPO #ThailandPlusPackage #FutureSkill   

งาน 'อว.แฟร์' SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND ณ Exhibition Hall ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 22 - 28 ก.ค. 2567

10 กรกฎาคม 2567 488

22 - 28 ก.ค. นี้ สอวช. จะชวนไปร่วมสัมผัสอนาคตของไทยผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยในงาน 'อว.แฟร์' ที่มาพร้อมกับธีม SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND ณ Exhibition Hall 1 - 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  เวลา 09.00 - 20.00 น.   อว.แฟร์ แบ่งการจัดนิทรรศการออกเป็น 6 โซน ได้แก่ 1. Inspired by SCIENCE วิทย์บันดาลใจ วิทยาศาสตร์ เพื่อจุดประกายการเรียนรู้ 2. SCIENCE for Exponential Growth วิทย์เสริมแกร่งธุรกิจไทย วิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับ ขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมสู่อนาคต 3. SCIENCE for All Well Be-ing วิทย์เพื่อชีวิตผาสุก วิทยาศาสตร์ เพื่อสังคมที่ดี ลดความเหลื่อมลํ้า และชีวิตที่ผาสุก 4. S.R.I. Startup LaunchPad วิทยาศาสตร์ เพื่อ Startup และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 5. SCIENCE for Lifelong Learning เรียนรู้ตลอดชีวิทย์ วิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต/ทักษะอาชีพในอนาคต 6. SCIENCE for FUTURE THAILAND วิทย์เพื่ออนาคตประเทศไทย วิทยาศาสตร์ เพื่อ “อนาคตประเทศไทย” ที่สดใสและยั่งยืน   สำหรับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้ร่วมออกบูทนิทรรศการในโซน Science for Lifelong Learning นำเสนอแพลตฟอร์ม STEMPlus แพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความต้องการระหว่างผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ใช้บัณฑิต นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะและสมรรถนะในการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเชื่อมโยงหลักสูตรและความเชี่ยวชาญจากภาคอุดมศึกษา ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ตามนโยบาย IGNITE THAILAND ของรัฐบาล     ภายในบูทมีการนำเสนอข้อมูลมาตรการทางภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ ผ่านมาตรการ Thailand Plus Package โดยในการจ้างงานบุคลากรด้าน STEM สามารถขอยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินเดือนได้ 150% และการพัฒนาบุคลากรในองค์กรสามารถขอยกเว้นภาษีได้ 250% นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอถึงสถิติความเชี่ยวชาญและกำลังการผลิตจากภาคการศึกษา สำหรับวางแผนการลงทุนอีกด้วย ขณะเดียวกัน ภายในบูทจะนำเสนอภาพรวมโครงการ Online Job Matching ที่จะอำนวยการความสะดวกในการจับคู่การจ้างงานให้บริษัท และแนะนำให้รู้จักกับ STEM One-Stop Service หรือ STEM OSS ศูนย์ประสานงานและบริการเบ็ดเสร็จ     นอกจากนี้ สอวช. ยังได้จัดเตรียมไฮไลท์สุดพิเศษที่เปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมงาน อว.แฟร์ เท่านั้น กับ 4 ความพิเศษ ประกอบด้วย     1. อนุมัติรับรองเร็วทันใจ ทั้งการรับรองหลักสูตร และการจ้างงานด้าน STEM : โดยผู้ประกอบการ หรือสถาบันฝึกอบรมทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยื่นการขอรับรอง ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 จะได้ทราบผลการพิจารณาเร็วทันใจ ภายใน 31 กรกฎาคม 2567 2. คลินิก STEMPlus แนะเคล็ดลับ แบบจับมือทำ : ทำอย่างไรให้ได้รับการรับรองหลักสูตรฝึกอบรม และการจ้างงานด้าน STEM เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แบบผ่านฉลุย เรามีผู้เชี่ยวชาญมาแนะเคล็ดลับที่บูท STEMPlus ตลอดการจัดงาน 22 – 28 กรกฎาคม 2567 โดยเปิดคลินิก 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า เวลา 10.00 – 12.00 น. และช่วงบ่าย เวลา 14.00 – 16.00 น. 3. ฝากประวัติ หางานได้ก่อนใคร : เปิดรับฝากประวัตินิสิต นักศึกษา หลากหลายสาขาวิชา เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม Advanced Electronics โดยสามารถยื่น Resume ฝากประวัติได้ที่บูท สอวช. ตลอดงาน 4. หาคน ได้ตรงใจ ประหยัดเวลาไม่ต้องยื่นคำขอผ่านระบบ : สถานประกอบการสามารถยื่นคำขอ ช่วยหาคนด้าน STEM ผ่านโครงการ Co-creation รูปแบบต่าง ๆ  โดยไม่ต้องยื่นคำขอผ่านระบบ สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่บูท สอวช. เพื่อนัดหมายเครือข่ายสถาบันการศึกษาได้ตลอดงาน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณอรรถสิทธิ์ attasith@nxpo.or.th และสามารถติดตามรายละเอียดงาน อว.แฟร์ ได้ที่ https://www.mhesifair.com/

กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 19 หลักสูตรใหม่ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม เดือนกรกฎาคม ปี 2567

1 กรกฎาคม 2567 313

กระทรวง อว. โดย สอวช. รับรอง 19 หลักสูตรใหม่ในการพัฒนาบุคลากรด้านสะเต็ม ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกอบการยกเว้นภาษีได้มากถึง 250% เตรียมพร้อมส่งบุคลากรเข้ามาพัฒนาทักษะกันได้เลย!.ในเดือนกรกฎาคมนี้ มีหลักสูตรที่น่าสนใจในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมด้านดิจิทัล (Digital) อุตสาหกรรมด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Advance Agriculture and Biotechnology) และอุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy).หลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรจากหน่วยฝึกอบรมภาคเอกชนที่น่าสนใจหลากหลายแห่ง ที่ได้รับการรับรอง ตามมาตรการ Thailand Plus Package มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน STEM ที่สอดคล้องกับความต้องการทักษะบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Future Skills Set) ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมในหลักสูตร ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ถึง 250%.ตัวอย่างหลักสูตรใหม่ที่น่าสนใจ เช่น  หลักสูตร Environmental Economics and Policy หลักสูตร Nanotechnology for Daily Life and Business หลักสูตร Driving Digital Strategy with Customer-Centric Innovation หลักสูตร กลยุทธ์การเพิ่มยอดธุรกิจ 2 เท่าโดยใช้ Al และ Digital Transformation ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและติดตามข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองเพิ่มเติมได้ที่ www.stemplus.or.th.#สอวช #NXPO #ThailandPlusPackage #FutureSkill

สอวช. ปลื้ม แพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง “STEMPlus” คว้ารางวัลเลิศรัฐ ระดับดีเด่น ประจำปี 2566ประเภทบริการตอบโจทย์ตรงใจ ตอบเป้าหมายการพัฒนากำลังคนสู่อนาคต

8 กันยายน 2566 1,779

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นางสาวภาณิศา หาญพัฒนนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมอุดมศึกษาและการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต พร้อมตัวแทนพนักงาน สอวช. เข้ารับมอบรางวัลเลิศรัฐ ประเภทบริการตอบโจทย์ตรงใจ ระดับดีเด่น ประจำปี 2566 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) โดยโครงการที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้คือ “แพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ” หรือ แพลตฟอร์ม STEMPlus ดร.กิติพงค์  กล่าวว่า นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของ สอวช. ที่ กพร. ได้มอบรางวัลอันทรงเกียรตินี้ให้กับเรา ทีมงานทุกคนทุ่มเทและตั้งใจที่จะสร้างแพลตฟอร์ม STEMPlus ขึ้นมา ให้เป็นแพลตฟอร์มให้บริการขนาดใหญ่รองรับความต้องการด้านกำลังคนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยรวบรวมหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนากำลังคน ตอบโจทย์ตามความต้องการของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เน้นการส่งเสริมการปรับทักษะ ยกระดับทักษะ (Reskill Upskill) และจับคู่กำลังคนไปสู่การทำงานและการประกอบอาชีพ ตอบโจทย์ 3 กลุ่ม สำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการ สามารถนำค่าใช้จ่ายการจ้างงานบุคลากรด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือ สะเต็ม (STEM)  ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ผ่านการรับรองไปขอลดหย่อนภาษีได้ 150% ซึ่งปัจจุบันมีการขอรับรองการจ้างงานแล้ว 4,446 ตำแหน่งงาน จาก 105 บริษัท นอกจากนี้สถานประกอบการที่ส่งบุคลากรเข้ารับฝึกอบรมในหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจาก อว. สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ 250% ซึ่ง STEMPlus ได้รวบรวมรายชื่อหลักสูตร จำนวน 691 หลักสูตร จาก 70 หน่วยฝึกอบรม ซึ่งมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมแล้ว 55,130 คน โดยมีเป้าหมายจะพัฒนาคนให้ได้ 100,000 คน ภายในปี 2567 กลุ่มที่ 2 นักศึกษาและบุคคลทั่วไป จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มโอกาสการได้ทำงานที่ต้องการและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็น โดยปัจจุบันยังได้มีนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา หรือ Higher Education Sandbox เกิดขึ้นจำนวน 11 โครงการ ซึ่งสามารถผลิตกำลังคนที่สอดคล้องตามความต้องการได้อย่างน้อย 20,000 คนภายในปี 2575 และในกลุ่มที่ 3 ตอบโจทย์หน่วยฝึกอบรม ให้ได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ตามความต้องการในหลากหลายสถานการณ์

สอวช. เปิดเวทีถก พัฒนากำลังคนแรงงานทักษะสูง ตอบสนองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ชี้ โลกเปลี่ยนกติกา การศึกษาต้องปรับหลักสูตรเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง

7 มีนาคม 2567 530

(5 มีนาคม 2567) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ ในหัวข้อ “STEMPlus Platform การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงให้สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทย” โดยมีผู้แทนจาก สอวช. กรมสรรพากร สำนักเคเอ็กซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นที่สำคัญ ในช่วงแรก ผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ รองผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวถึงที่มาและความจำเป็นของ STEMPlus Platform กำลังคนสมรรถนะสูง ว่า จากสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าจำนวนแรงงานบางสาขาไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน จึงได้ออกแบบ STEMPlus Platform ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความต้องการระหว่างผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา และภาครัฐ นำไปสู่ความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันและอนาคต จากการดำเนินงานรับรองหลักสูตรฝึกอบรมและการจ้างงานทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ หรือ STEM มาตรการ Thailand Plus Package ผ่าน STEMPlus Platform มีการรับรองการจ้างงานทักษะสูงด้าน STEM แล้ว 5,725 ตำแหน่งงาน และมีเป้าหมายให้มีการจ้างงาน STEM เพิ่มขึ้นถึง 10,000 ตำแหน่งงานภายในปี 2567 ขณะที่หลักสูตรฝึกอบรมผ่านการรับรองแล้วกว่า 800 หลักสูตรซึ่งมีผู้ผ่านการฝึกอบรมในทักษะที่อุตสาหกรรมเป้าหมายมีความต้องการแล้วกว่า 80,000 ราย และคาดว่ากำลังแรงงานของไทยจะได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นถึง 100,000 ราย ภายในปี 2567 นี้อาจารย์วรรณภพ กล่อมเกลี้ยง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักเคเอ็กซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้แนะนำ STEMPlus Platform บริการที่ช่วยตอบสนองความต้องการด้านกำลังคนให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา และบุคคลทั่วไป อาทิ การขอรับรองการจ้างงานทักษะสูงด้าน STEM และการขอรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร มาตรการ Thailand Plus Package การแจ้งความประสงค์ความต้องการกำลังคน การเผยแพร่หลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองจาก อว. การฝากประวัติสำหรับการสมัครงานหรือเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ และสถิติกำลังคนด้าน STEM รวมทั้งแนะนำสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ ที่ สอวช. ได้รับความไว้วางใจจากกรมสรรพากรในการพิจารณารับรองการจ้างงาน STEM และการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องตามมาตรการ มาเป็นระยะที่ 3 ต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2568 พร้อมทั้งแนวทางการยื่นคำขอฯ ให้ผ่านการรับรองนอกจากนี้ยังมีการเสวนาหัวข้อ “ทิศทางการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทย การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงและสิทธิประโยชน์สนับสนุน โดยมี นายกานต์ ตระกูลฮุน ประธานกรรมการ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ร่วมด้วย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. นางสาวเสาวคนธ์ มีแสง ผู้อำนวยการกองวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร และ ผศ.ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนายกานต์ ได้กล่าวชื่นชมโครงการ STEMPlus ที่ช่วยพัฒนาบุคลากรทักษะสูงเพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ซึ่งได้นำเสนอแพลตฟอร์มนี้ต่อเครือข่ายนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนในประเทศไทย ทั้งนี้ จากผลจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD World Competitiveness Center ล่าสุด พบว่าประเทศไทยอยู่ในดับดีขึ้นในทุกปัจจัย ทั้งสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของธุรกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในด้านการศึกษา สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีอันดับที่ลดลง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ต้องมาหารือกัน เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงกติกาโดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม ที่ในทุกอุตสาหกรรมจะต้องคำนึงถึงและปรับตัว การพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เมื่อภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันจะสามารถก้าวข้ามผ่านไปได้อย่างแน่นอนด้าน ดร.กิติพงค์ กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับประเด็นท้าทาย 4 อย่าง ได้แก่ 1. การเติบโตทางเศรษฐกิจช้า โดยเฉลี่ยในรอบ 20 กว่าปีที่ผ่านมาเติบโตประมาณ 3.2% เท่านั้น 2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กระทบต่อเรื่องการค้าและการลงทุน บริษัทส่วนใหญ่เริ่มสร้าง green profile เวลาจะทำความร่วมมือ จึงต้องคำนึงในเรื่องนี้ ถ้าเราเข้าไปอยู่ในกติกาโลกก็ต้องมีการปรับตัวในเรื่องนี้ด้วย 3. การกระจายรายได้ ยังมีกลุ่มประชากรที่อยู่ฐานของพีระมิด โดยเฉพาะคนที่อยู่ในต่างจังหวัดและชนบท ยากต่อการขยับ เราต้องทำให้กลุ่มเหล่านี้พัฒนาขึ้น และ 4. การพัฒนาคน ที่ต้องพัฒนาแรงงานทักษะสูง เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ที่ชูพลังศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นที่หนึ่งในระดับภูมิภาคได้ใน 8 ฮับ ได้แก่ 1. ศูนย์กลางการท่องเที่ยว 2. ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ 3. ศูนย์กลางเกษตรกรรมและอาหาร 4. ศูนย์กลางการบิน 5. ศูนย์กลางการขนส่ง 6. ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต  7. ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล และ 8. ศูนย์กลางการเงินด้าน นางสาวเสาวคนธ์ ได้พูดถึงมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนากําลังคน อาทิ การส่งเสริมการลงทุนด้วยการหักรายจ่ายการลงทุนระบบอัตโนมัติ (automation) สนับสนุนการจ้างงานทักษะสูง  โดยการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 17% สำหรับผู้มีทักษะและความเชี่ยวชาญ หักรายจ่ายการจ้างงานผู้มีทักษะสูงด้าน STEM ได้ 1.5 เท่า และส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยการหักรายจ่ายการส่งพนักงานในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างในหลักสูตรทักษะสูงได้ 2.5 เท่า ขณะที่ ดร.อรรถวิทย์ กล่าวว่า ในแวดวงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เราได้เตรียมรับมือกับวิกฤตด้านเทคโนโลยีมาแล้วกว่า 10 ปี และติดตามสถานการณ์ด้านดิจิทัลมาโดยตลอด เพราะเชื่อว่าวิกฤตด้านดิจิทัลต้องมาแน่ และยิ่งในสถานการณ์ภาวะโลกเดือด สังคมผู้สูงอายุ อัตราเกิดลดลง ยิ่งต้องเร่งวางแผนพัฒนาเด็กที่มีอยู่น้อยให้มีคุณภาพสูง ซึ่งศาสตร์ทางด้านดิจิทัล จะเป็นการเพิ่มผลิตภาพการขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้มากที่สุด แต่ที่ผ่านมาหลักสูตรต่าง ๆ ไม่ได้ถูกปรับปรุงมากว่า 30 ปี ดังนั้นเพื่อสนองตอบการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างแบบเดิม จึงจำเป็นต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

สอวช. จัดบูทแนะนำแพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง และสิทธิประโยชน์ด้านการพัฒนากำลังคน ในงาน งานแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย อว. For EV ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

16 กุมภาพันธ์ 2567 407

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมจัดนิทรรศการแนะนำแพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง STEMPlus และสิทธิประโยชน์ด้านการพัฒนากำลังคน ในงาน “งานแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย อว. For EV” จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 3 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดย น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงเปิดตัวนโยบาย “อว for EV” ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ของผู้ที่อยู่ในวงการอีวี  น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า ทั้งนี้นโยบายนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าหมายตามโนบาย 30@30 ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนที่สำคัญที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรืออีวีฮับ และ 10 อันดับแรกของโลก ผลิตยานยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ (Zero Emission Vehicle: ZEV) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดของประเทศไทย และมีเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573 คิดเป็นกำลังการผลิตรถยนต์ประมาณ 725,000 คัน และรถจักรยานยนต์ประมาณ 675,000 คัน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้กับประเทศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แก้ไขความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   ภายในงานมีการจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง STEMPlus ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความต้องการระหว่างผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา และภาครัฐ นำไปสู่ความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคน การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษา และการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้แพลตฟอร์มการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ  ในการผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงจากสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน   แพลตฟอร์ม STEMPlus มีบริการและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา และบุคคลทั่วไป อาทิ การขอรับรองการจ้างงานทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ หรือ STEM และการขอรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร มาตรการ Thailand Plus Package การแจ้งความประสงค์ความต้องการกำลังคน การเผยแพร่หลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองจาก อว. การฝากประวัติสำหรับการสมัครงานหรือเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ และสถิติกำลังคนด้าน STEMให้แก่ผู้สนใจ พร้อมทั้งแนะนำการใช้งานแพลตฟอร์ม โดยคาดว่าจะมีบริษัทและผู้ประกอบการในระดับจังหวัดที่สนใจเข้ารับบริการจาก STEMPlus เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นการขยายผลการดำเนินงานของแพลตฟอร์มให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นด้วย

เว็บไซต์ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็มไซต์ (Cookies) เพื่อพัฒมาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่